ทำความรู้จัก ‘พลาสติกชีวภาพ’ (Bioplastics) ความหวังของมวลมนุษยชาติ

ทำความรู้จัก ‘พลาสติกชีวภาพ’ (Bioplastics) ความหวังของมวลมนุษยชาติ

ทุกคนเคยสงสัยกันไหมครับว่าแต่ละวันที่เราใช้ชีวิตและบริโภคสิ่งต่าง ๆ นั้น เราสร้างขยะออกสู่โลกมากน้อยแค่ไหน และเมื่อรวมกับของคนอื่นแล้ว เป็นปริมาณสูงแค่ไหนกัน? ข้อมูลจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute, TEI) นั้นพบว่าเฉพาะในประเทศไทย มีปริมาณขยะมูลฝอยเกินขึ้นกว่าปีละ 27.8 ล้านตัน หรือคิดเป็น 1.13 กิโลกรัม ต่อคน / ต่อวันโดยเฉลี่ย และในสัดส่วนขยะทั้งหมด เป็นขยะพลาสติกที่ย่อยสลายไม่ได้ไปแล้วกว่า 12-13% หากนับรวมทุกจังหวัด และกว่า 20% หรือราว 2,000 ตันต่อวัน หากนับเฉพาะในกรุงเทพมหานคร

ผลการสำรวจโดยทีม Helmholtz Center for Environmental Research จากประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา ยังเผยให้เห็นว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 7 ใน 12 ประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงมหาสมุทรมากที่สุดในโลก (0.41 ล้านตัน) สะท้อนว่าปัญหาขยะพลาสติกในบ้านเรานั้นควรได้รับการเร่งแก้ไข และหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญก็คือการหันมาผลิตและใช้ ‘พลาสติกชีวภาพ’ (Bioplastics) แทนพลาสติกชนิดปกติ แต่พลาสติกชีวภาพคืออะไรกัน และภาคธุรกิจนำมาใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง? วันนี้พี่วาฬมีคำตอบ

ทำความรู้จัก ‘พลาสติกชีวภาพ’ (Bioplastics) ความหวังของมวลมนุษยชาติ

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) คือ พลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรหรือจากธรรมชาติ (Biobase) เช่น น้ำตาลจากอ้อยหรือข้าวโพด, แป้งจากมันสำปะหลัง, โปรตีนจากถั่ว โปรตีนเคซีนจากนม, เซลลูโลสจากพืช ฯลฯ  บางประเภทอาจมีไฮโดรคาร์บอนจากการกลั่นปิโตรเลียมเป็นส่วนประกอบผสม หรือ ทำจากวัสดุธรรมชาติทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับแนวทางและเป้าหมาย เรียกโดยรวมว่า ‘พลาสติกฐานชีวภาพ’ (bio-based plastic)

เมื่อต้นทางมีส่วนผสมของธรรมชาติ ปลายทางจึงเป็นมิตรต่อธรรมชาติ เมื่อกลายเป็นขยะ พลาสติกชีวภาพสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ หรือที่มักเรียกกันว่า ‘ย่อยสลายทางชีวภาพ’ ภายใต้ความชื้น อุณหภูมิ และปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสม กระบวนการย่อยสลายโดยสมบูรณ์ ส่วนใหญ่จึงจะนำมาหมักทางชีวภาพหรือฝังกลบในสภาพที่เหมาะสม เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน จนองค์ประกอบพลาสติกสลายจนหมด

 

พลาสติกชีวภาพและภาคธุรกิจ

ความหวังในการทดแทนพลาสติกปกติด้วยพลาสติกชีวภาพให้ยั่งยืนแน่นอนว่าต้องมีปลายทาง คือ สามารถนำมาใช้กับ ‘ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรม’ ได้อย่างตอบโจทย์ โดยในปัจจุบันพลาสติกชีวภาพก็ได้ถูกพัฒนาจนมีความพร้อมที่จะดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการทางอุตสาหกรรม ชนิดที่ได้รับความนิยม ได้แก่

  • พอลิแล็กติกแอซิด (Polylactic Acid หรือ PLA)

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพชนิดพอลิเอสเทอร์ (Polyester)  สังเคราะห์จากกระบวนการหมักน้ำตาลให้เป็นกรดแล็กติก (Lactic acid) จากนั้นจึงนํามาทําปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชั่น (Polymerization) ผลิตเป็นเม็ดพลาสติก PLA มีลักษณะใส ถ่ายเทความร้อนและความชื้นได้ดีสามารถทนความร้อนได้ตั้งแต่ 60-120 องศาเซลเซียส เหมาะสําหรับใช้ในกระบวนการผลิตต่างๆ ทั้งการฉีด, การอัด, การเป่าขึ้นรูป และการผลิตเส้นใย

  • พอลิบิวทิลีนซักซิเนต (Polybutylene Succinate หรือ PBS)

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพชนิดพอลิเอสเทอร์ (Polyester)  สังเคราะห์จากปฏิกิริยาควบแน่นระหวางกรดซักซินิก (Succinic acid) ที่ผลิตจากพืช และ 1,4-บิวเทนไดออล (1,4-Butanediol) ที่ผลิตจากปิโตรเลียม  มีลักษณะขุ่น มีอัตราการสลายตัวช้ากว่า PLA เล็กน้อยแต่ขึ้นรูปได้ง่ายในหลากหลายกระบวนการและยืดหยุ่น ทนความร้อนได้ตั้งแต่ 80-95 องศาเซลเซียส ในบางการผลิต ยังสามารถนำผสมผสานกับ PLA เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติให้ทนทานและย่อยสลายได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

 

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ธุรกิจจากวัสดุชีวภาพ

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกชีวภาพมาใช้กับธุรกิจได้อย่างเห็นผล เช่น นวัตกรรมการเปลี่ยนของเหลือจากโรงคั่วกาแฟ (เยื่อกาแฟ)  ให้เป็นเม็ดพลาสติกคอมพาวด์ ผิวสัมผัสเหมือนไม้เหมาะสำหรับฉีดขึ้นรูปเป็นไม้เทียมในอุตสาหกรรมตกแต่งหรือใช้เป็นส่วนผสมพลาสติกชีวภาพ จากการ่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คาเฟ่อเมซอน (Café Amazon) ช่วยเปลี่ยนเยื่อกาแฟที่จากเดิมไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เป็นภาระที่ต้องนำไปทิ้งและทำลายปีละหลายแสนบาท ตลอดจนสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหากกำจัดไม่ดี ให้กลายเป็นวัสดุชีวิภาพมากมูลค่า

หรือ โครงการ Circular Living โดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) นำร่อง เปลี่ยนจากแก้วและหลอดพลาสติกปกติเป็นแก้วและหลอดพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ประกอบด้วย

  1. แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพชนิด PBS ย่อยสลายได้โดยการฝังกลบ 180 วัน ปัจจุบันใช้แล้วทุกสาขา มีปริมาณการใช้ 1.5 ล้านแก้วต่อเดือน
  2. แก้วเย็น Bio PLA แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ทำจากพืช 100% สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้งานส่วนอื่นๆ ได้ ปัจจุบันใช้แล้วใน 14 สาขา มีปริมาณ 8 แสนใบต่อเดือน
  3. หลอด Bio PSB + PLA หลอดพลาสติกชีวภาพชนิด PSB ผสมกับ PLA จากอ้อยและข้าวโพด 100% ย่อยสลายได้โดยการฝังกลบ 180 วัน ใช้แล้วทุกสาขา ปริมาณ 22.5 ล้านหลอดต่อเดือน หรือ 270 ล้านหลอดต่อปี

ทำความรู้จัก ‘พลาสติกชีวภาพ’ (Bioplastics) ความหวังของมวลมนุษยชาติ, Whale Energy Station

ขอบคุณรูปภาพจาก PTT GC Group

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนจากถุงพลาสติกใส่เบเกอรี่เป็น ‘ถุงกระดาษ’ ช่วยให้สามารถลดขยะพลาสติกได้มากถึง 645 ตันต่อปี ทั้งนี้ ในการช่วยกันลดปัญหาขยะพลาสติกและเปลี่ยนมาใช้พลาสติกชีวภาพอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยการร่วมมือจากผู้บริโภคร่วมด้วย คือ การช่วยกันคัดแยกและทิ้งขยะพลาสติกชีวภาพแยกกับพลาสติกโดยทั่วไปเสมอ เพื่อให้สามารถนำมาย่อยสลายได้อย่างครอบคลุมและโดยสมบูรณ์

ที่มา: https://www.whaleenergystation.com/environment/4453/?fbclid=IwAR2lyHrvaLatmfmbj78dDG3Op4XI3k6KiCr8q_IhfBBe8OK2GBjN3sB3IL8

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.

This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our privacy policy. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Performance

    Performance cookies are used to see how visitors use the website, eg. analytics cookies. Those cookies cannot be used to directly identify a certain visitor.

Save