30 ส.ค. จับตาเทรนด์ของแพ็กเกจจิ้งพลาสติก ไม่ใช่แค่ลดการใช้ แต่ต้องรีไซเคิลได้ด้วย
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกการตลาดของบ้านเราก็คือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่กำลังมองหาสินค้าที่เข้ามาตอบโจทย์ และ ทำให้สุขภาพของพวกเขาดีขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็มีความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้วย ทั้ง 2 เรื่องจึงกลายเป็นแนวทางในการทำตลาดของบรรดายักษ์ใหญ่ในแวดวงสินค้าอุปโภค – บริโภค ที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมนั้น เรื่องของขยะพลาสติกที่เกิดจากการใช้สินค้า กำลังเป็นภัยคุกคามสำคัญ ที่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม
แนวโน้มที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปี 2020 นี้ นอกจากผู้ผลิตแต่ละรายจะมุ่งไปที่เรื่องของการลดการใช้พลาสติก ลงแล้ว ยังมีการให้ความสำคัญกับเรื่องของการใช้พลาสติกที่สามารถรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ได้แบบ 100%
ปัญหาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นปัญหาระดับโลกที่ไม่มีรัฐบาลใด บริษัทแห่งใด หรือคนใดคนหนึ่งแก้ปัญหาได้ แต่การแก้ปัญหาจะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อย่างในกรณีของยูนิลีเวอร์ ยักษ์ใหญ่ในแวดวงสินค้า FMCG ที่มี นโยบายในเรื่องนี้อย่างชัดเจน โดยตั้งเป้าจะลดผลกระทบจากการผลิต และการใช้สินค้าของยูนิลีเวอร์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2020 ถือว่าเร็วกว่าสิ่งที่ประกาศไว้กับทั่วโลกที่จะบรรลุเป้าหมายภายในปี 2025
ยูนิลีเวอร์มีความมุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกด้วยการส่งเสริมจิตสำนึกในการลดขยะพลาสติก และมีนโยบายที่ จะใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถรีไซเคิล นำกลับมาใช้ใหม่ และย่อยสลายได้ กับผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ที่มีปริมาณ การใช้เป็นจำนวนมาก เริ่มจากผลิตภัณฑ์ล้างจานซันไลต์ และน้ำยาปรับผ้านุ่มคอมฟอร์ทที่เปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งเป็นแบบ รีไซเคิลได้ 100% โดยจะทำไปพร้อมๆ กับการขยายธุรกิจให้เติบโตเพิ่มขึ้น เป็นการเติบโตแบบยั่งยืนตลอดทั้งซัพพลายเชน
เทรนด์ในเรื่องของการนำแพ็กเกจจิ้งที่สามารถรีไซเคิลได้แบบ 100% มาใช้นี้ จะเป็นสิ่งที่ได้จะได้เห็นกันมากขึ้น ในปี 2020 นี้ โดยนอกจากเรื่องของการนำมาใช้แล้ว ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการให้ความรู้เพื่อให้ตระหนักถึง ตลอดจนการสร้าง พฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องนี้
อย่างในกรณีของบริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ SPBT ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เครื่องดื่มภายใต้แบรนด์ซันโทรี่และเป๊ปซี่โค ที่มีการร่วมมือกับบริษัทวงศ์พานิชในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการรีไซเคิล ด้วยการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคผ่านการกำหนดราคารับซื้อขวดพลาติก PET ที่ใช้แล้วในครือ “ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค” ให้สูงขึ้นกว่าราคารับซื้อปกติ โดยร้านรับซื้อขยะวงษ์พาณิชย์ทุกสาขาทั่วประเทศได้ประกาศรับซื้อขวดพลาสติก PET ของเครื่องดื่มเป๊ปซี่ เป๊ปซี่แมกซ์ เทสต์ มิรินด้า เซเว่นอัพ กู๊ดมู้ด ชาพร้อมดื่มลิปตันน้ำดื่มอควาฟิน่า และเครื่องดื่มเกลือแร่ เกเตอเรดสูงกว่าราคาปกติอีก กิโลกรัมละ 1 บาท
ตามโรดแม็บของค่ายนี้ มีการมองถึงการนำแพ็กเกจจิ้งที่เป็น RPET หรือแพ็กเกจจิ้งที่เป็นขวด PET ที่ผ่านการ รีไซเคิลมาใช้แบบ 100% ในอนาคต เพราะมองว่า จะเป็นตัวช่วยในการลดการใช้พลาสติก PET เพราะเป็นการนำกลับ มาใช้แบบ 100% โดยมองว่า เป็นทางออกที่ดีกว่าการใช้แพ็กเกจจิ้งที่มาจากวัสดุทดแทนพลาสติก เพราะมองว่า เทคโน โลยีของการรีไซเคิลนั้น สามารถรีไซเคิลพลาสติก PET คุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง จึงเป็นการหมุนเวียนโดยไม่ได้มี การเพิ่มการใช้พลาสติกในระยะยาว
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอย่างเนสท์เล่ ที่มุ่งมั่นเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้สามารถรีไซเคิล หรือนำกลับมา ใช้ใหม่ได้100%ภายในปี 2025 พร้อมใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยได้เริ่มใช้ 3 บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก อันได้แก่ เนสกาแฟ โพรเทค โพรสลิม ที่ได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ภายนอกเป็นซองกระดาษ เนสกาแฟกระป๋องลาเต้ และ แบล็คไอซ์ ในกระป๋องอะลูมิเนียมที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% และแก้วไบโอคัพ (BioCup) ในร้านเนสกาแฟฮับที่สามารถ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ได้เริ่มใช้ในกลุ่มธุรกิจเนสกาแฟ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของ เนสท์เล่ในประเทศไทย
เนสท์เล่ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการบริหารจัดการอย่างเป็นองค์รวมภายใต้หลัก 3R ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจระดับโลกของเนสท์เล่ ในการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ภายในปี 2025 ภายใต้วิสัยทัศน์ที่จะ ต้องไม่มีวัสดุและพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ของเนสท์เล่ที่ต้องกำจัดด้วยการฝังกลบหรือกลายเป็นขยะ
ด้วยเหตุผลที่ว่า ธุรกิจกาแฟคือธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของเนส์เล่ และเป็นผู้นำตลาดในประเทศ การเริ่มใช้บรรจุภัณฑ์ รักษ์โลกกับผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ จึงเป็นการช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะพลาสติกแก่ผู้บริโภคชาว ไทยรวมทั้งเพิ่มการนำบรรจุภัณฑ์เนสกาแฟ ไปรีไซเคิลพร้อมๆ กับการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการ เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
การนำแพ็กเกจจิ้งที่เป็น RPET หรือแพ็กเกจจิ้งที่เป็นขวด PET ที่ผ่านการรีไซเคิลมาใช้แบบ 100% นั้น กลายเป็น พันธกิจขององค์กรขนาดใหญ่ หลายๆ องค์กรที่มุ่งมั่นทำในเรื่องนี้ โดยมีการจับมือจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรพลาสติกกลับ มาใช้ใหม่ หรือ Plastic Circularity Thailand (APCT) ภายใต้การขับเคลื่อนของกลุ่มธุรกิจภาคเอกชน 5 บริษัท เพื่อเดิน หน้าผลักดันแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท พีแอนด์จี – พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทย จํากัด บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด และบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ร่วมลงนาม ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ หรือ Plastic Circularity Thailand (APCT) มาจากปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ โดยพันธกิจของกลุ่ม นั้น จะเป็นการวางโมเดลการจัดการขยะชุมชนในจังหวัดต่างๆ เพื่อมุ่งสู่สังคม zero plastic waste หรือการทำให้ขยะ พลาสติกเหลือศูนย์ โดยการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยโมเดลแรกจะเริ่มที่จังหวัด เชียงราย และมุ่งที่จะขยายผลวางโมเดลการจัดการขยะไปยังจังหวัดต่างๆ ต่อไปในอนาคต
เทนด์ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเทรนด์หนึ่งที่เราจะได้เห็นมากขึ้นในปี 2020 นี้น่าจะเป็นเรื่องของการใช้ แพ็กเกจจิ้งที่สามารถรีไซเคิลได้แบบ 100% หลังจากนั้น จะเป็นเรื่องของการนำมาใช้ โดยทั้งหมดจะพุ่งเป้าไปที่ขั้นตอน ของการ “บริโภค” สินค้าที่ถูกมองว่าเป็นขั้นตอนของการสร้างให้เกิดขยะพลาสติกมากที่สุด เมื่อสามารถลดการใช้ด้วยการ รีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ได้แบบ 100% จึงเป็นอีกหนทางในการช่วยโลกให้พ้นจากปัญหาของมลภาวะที่เกิดจากขยะ พลาสติกล้นโลกได้เป็นอย่างดีทางหนึ่ง…..
ที่มา: https://www.brandage.com/article/19469
Sorry, the comment form is closed at this time.