ชี้การเปลี่ยนแปลง ‘บรรจุภัณฑ์พลาสติกไทย’ ส่องโอกาสเติบโต

ชี้การเปลี่ยนแปลง ‘บรรจุภัณฑ์พลาสติกไทย’ ส่องโอกาสเติบโต

EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ ในปัจจุบันอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกไทยเริ่มมีการเติบโตในอัตราที่ช้าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูป (rigid plastic packaging) อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและวิถีชีวิต รวมถึงบรรจุภัณฑ์พื้นฐาน เช่น ถุงหูหิ้ว หลอดพลาสติกที่มีแนวโน้มถูกใช้งานน้อยลงจากกระแสรักษ์โลกและการรณรงค์ของภาครัฐและภาคเอกชน

อีไอซีมองว่าผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกควรปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง โดยปรับลดสัดส่วนการลงทุนในบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง และควรเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในพลาสติกแบบอ่อนตัว (flexible packaging) ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีกำไรขั้นต้นราว 20 % ในขณะที่กำไรขั้นต้นของพลาสติกแบบพื้นฐานมีกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 5-10% รวมถึงการนำนวัตกรรมมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น นวัตกรรมควบคุมความชื้นในบรรจุภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการปรับกลยุทธ์การผลิตและออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือใช้เม็ด bio-plastic เพื่อขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตช้าลง แม้ว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2008-2012 ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีอัตราการเติบโตถึง 7% ต่อปี และเริ่มชะลอตัวลงเหลือ 3% ต่อปี ในช่วงปี 2013-2017 โดยเมื่อศึกษาในสัดส่วนของบรรจุภัณฑ์พลาสติกแล้ว พบว่า ปริมาณการใช้พลาสติกคงรูป (rigid plastic pacakging) เริ่มมีอัตราการเติบโตของการบริโภคที่ลดลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปริมาณดังกล่าวถูกแทนที่ด้วย

การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและวิถีชีวิตของคนไทย ทำให้พลาสติกแบบอ่อนตัว (flexible plastic packaging) มีความต้องการมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ 1) การเติบโตของความเป็นชุมชนเมือง และการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อหัว ทำให้ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 2) การขยายตัวของครัวเรือนขนาดเล็ก เนื่องจากจำนวนคนโสด และคู่สมรสที่ไม่มีบุตรมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์แบบเฉพาะหน่วย (individual packaging) มากขึ้น โดยบรรจุภัณฑ์พลาสติกจะมีขนาดเล็กลงเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการบริโภคสินค้าของสมาชิกในครัวเรือน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง และ 3) การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ รวมไปถึงกระแสความใส่ใจด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้มีความต้องการบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รักษาความสดใหม่ สามารถยืดอายุสินค้าให้นานที่สุด และรักษาระดับความร้อนและความเย็นของอาหารและเครื่องดื่ม โดยไม่มีสารปนเปื้อนออกมาจากพลาสติก

จากการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านดังกล่าว ทำให้ความต้องการใช้พลาสติกแบบอ่อนตัว (flexible plastic packaging) ของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว มีลักษณะเป็นแบบชั้นฟิล์มหลายชั้น (multilayer film) ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการทนความร้อนและความดันสูง ทั้งยังสามารถพิมพ์ฉลากลงบนบรรจุภัณฑ์ได้ มีความแข็งแรง ความสะดวกในการห่อหุ้มสินค้า สามารถขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์หน่วยเล็กๆ ได้ ง่ายต่อการใช้งาน และการขนส่ง เช่น ถุงแบบตั้งได้ (stand – up pouches) ถุงซิป (re – closable packs)

กฎเกณฑ์ และมาตรการจากภาครัฐ เป็นปัจจัยผลักดันในการลดการใช้พลาสติกแบบพื้นฐาน และนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกหมุนเวียนมาใช้ใหม่มากขึ้น โดยรัฐ มี 3 เป้าหมายหลักสำคัญที่จะจัดการขยะพลาสติกแบบบูรณาการคือ 1) ปริมาณขยะพลาสติกที่นำไปกำจัดจะต้องลดลง 2) การออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และ 3) มีการนำพลาสติกกลับมาใช้หลังการบริโภค 60% ภายในปี 2021 ทั้งนี้ ภาครัฐจะมีการทบทวนแนวคิดการจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมจากการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ภาษีถุงพลาสติก หรือภาษีห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ให้บริษัทผลิตน้ำดื่มเลิกหุ้มฝาขวดด้วยพลาสติก (cap seal) โดยมีเป้าหมายในการลดปริมาณขยะพลาสติกให้ได้ปีละ 520 ตัน หรือมีความยาว 260,000 กิโลเมตร คิดเป็นความยาวรอบโลกถึง 6.5 รอบ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2018

ในส่วนของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกสำหรับใส่ยาทุกหน่วยงานในสังกัด ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2018 ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกของโรงพยาบาลในสังกัดของกรมการแพทย์ถึงปีละกว่า 9 ล้านใบ นอกจากนี้ ยังมีการรณรงค์ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกพื้นฐานในภาคเอกชนของไทย เช่น Tops daily จัดกิจกรรมรับคะแนนสะสมเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าในร้านโดยไม่รับถุงพลาสติก SCB จัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยการแจกขวดน้ำพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำให้แก่พนักงาน

อีไอซีมองว่ามาตรการของทั้งภาครัฐและเอกชน ดังที่กล่าวข้างต้น แม้ว่าในระยะสั้นจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไม่มากนัก เนื่องจากคนไทยมีการใช้ถุงพลาสติกปีละ 7 พันล้านใบ แต่หากภาครัฐปฏิบัติตามเป้าหมายได้สำเร็จในการนำพลาสติกกลับมาใช้หลังการบริโภค 60% ตามที่กล่าวข้างต้น ประกอบกับกระแสการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียว จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบพื้นฐานแบบบริโภคครั้งเดียว (single use) อย่างถุงหูหิ้ว ขวดน้ำพลาสติกแบบพื้นฐาน จากปริมาณการใช้ที่ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

นอกจากนี้ ไทยยังมีความต้องการแผ่นฟิล์มเพื่อนำไปผลิตพลาสติกแบบอ่อนตัว (flexible packaging) ที่มีมูลค่า ในปัจจุบันไทยนำเข้าบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทฟิล์ม เช่น ถุงพลาสติกเสริมอะลูมิเนียมฟอยล์ประเภทปลอดเชื้อที่มีมูลค่าสูง ขณะที่เป็นผู้ส่งออกสุทธิบรรจุภัณฑ์พลาสติกพื้นฐาน เช่น ถุงพลาสติกแบบหูหิ้ว (shopping bag) ที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ทำให้เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าของพลาสติกต่อตันกับประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสุทธิในเอเชียอย่าง จีน เกาหลี เวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น พบว่าไทยมีความเสียเปรียบในเชิงมูลค่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่อตันมากที่สุด และประเทศญี่ปุ่นมีความได้เปรียบในเชิงมูลค่ามากที่สุด โดยสินค้าที่ญี่ปุ่นส่งออกจะเป็นแผ่นฟิล์มที่มีหลายชั้น เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนตัว (flexible plastic packaging) (รูปที่ 2) ทั้งนี้ จึงเป็นเป็นอีกหนึ่งโอกาสให้ผู้ประกอบการพัฒนาตลาดสำหรับแผ่นฟิล์มเพื่อใช้สำหรับพลาสติกแบบอ่อนตัว (flexible plastic packing) ที่ยังมีความต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

นวัตกรรมจะมีส่วนช่วยสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก การสร้างนวัตกรรมให้กับบรรจุภัณฑ์พลาสติกจะทำให้ผู้ประกอบการมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างและอาจเพิ่มยอดขายได้ในอนาคต ทั้งนี้ ตัวอย่างของนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์แนวโน้มของการใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น Active Packaging ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร และยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ จากการใช้กระบวนการต่างๆ โดยการ ดูดออกซิเจน การควบคุมความชื้น การดูดหรือปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อันเนื่องมาจากแบคทีเรียหรือราบางประเภทที่ปล่อยออกมาระหว่างการเจริญเติบโต

สำหรับในต่างประเทศ ได้เน้นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในการใช้พลาสติกชีวภาพ โดยยุโรปตะวันตกเป็นผู้บริโภคพลาสติกชีวภาพรายใหญ่ที่สุดของภูมิภาค โดยในปี 2017 มีปริมาณการใช้พลาสติกชีวภาพถึง 500,000 ตัน หรือครึ่งหนึ่งของความต้องการทั่วโลก คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยปี 2012-2017 ราว18% ปัจจัยของการเติบโตนั้นมาดจากการได้รับการสนับสนุนจากกฎระเบียบภาครัฐและความตระหนักและความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมของประชาชน โดยยุโรปพร้อมประกาศยกเลิกการใช้พลาสติกแบบ single-use ภายในปี 2025

จากตัวอย่างดังกล่าวสะท้อนได้ว่าถึงเวลาแล้วที่ที่ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวโดยนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการปรับปรุงสินค้าทั้งในด้านของประโยชน์การใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นโดยใช้ flexible plastic packaging และการใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/809822

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.

This website uses cookies to improve user experience. By using our website you consent to all cookies in accordance with our privacy policy. เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Performance

    Performance cookies are used to see how visitors use the website, eg. analytics cookies. Those cookies cannot be used to directly identify a certain visitor.

Save